วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ความหมายตามสีสันของเพชรนาคา

 

1. สีขาว หมายถึง พลังบารมีพุทธคุณหรือบารมีขององค์มหาพระโพธิสัตว์ ที่ได้ทรงบำเพ็ญเพียรถือศีลภาวนาปฏิบัติธรรมลดละกิเลสตัณหาอุปทาน ให้วางจิตให้อยู่ในสายกลางไม่มีบุญไม่มีบาป มีสติเป็นผู้รู้ (เกิดปัญญา) เท่าทันในสภาวะปัจจุบัน เกิดความใสสะอาดบริสุทธิ์ มีจิตใจเยือกเย็นหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหวง่ายๆ เหมาะกับผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวรวนเรไม่มีความมั่นใจ

2. สีแดง หมายถึง สีแห่งกำลังฤทธิ์อำนาจ กล้าหาญเด็ดเดียวความคิดฉับไหวเฉียบคมดุดัน ตัดสินใจรวดเร็วตรงเป้าหมายทันอกทันใจ เป็นที่เคารพน่าเกรงขาม ผู้ที่ได้ครอบครอบเพชรนาคาสีแดงนี้ จะต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมฝึกฝนให้จิตมี “สติ” รู้เท่าทันอารมณ์ มิเช่นนั้นจะเกิดผลกระทบที่ไม่ดีเกิดขึ้น ทั้งตนเองและผู้อื่น

สีแดงเป็นสีที่บ่งบอกถึง “โทสะจริต” ที่มีความต้องการให้ทันอกทันใจรวดเร็ว บางครั้งไม่เป็นตามที่เราต้องการก็จะเกิดอารมณ์โมโหโกรธขึ้นมานี้ละตัวร้าย ยิ่งเพชรนาคาที่มีสีเข้มขึ้นมากเท่าใด ยิ่งจะมีพลังทางลบมากเท่านั้น มันจะเผาผลาญทั้งกายและจิตใจให้เกิดความหม่นหมองมืดมัวเศร้าสร้อยไปทางทุคติที่ไม่ดี

2.1. สีแดงพิเศษ จะมีเฉพาะเม็ดขนาดใหญ่จัมโบ้ รูปวงรีความยาวประมาณ 3 ซ.ม.ขึ้นไป จะเป็นสีที่พลังอานุภาพฤทธิ์อำนาจสูงกว่าสีปกติมาก เพราะจะเป็น “เพชรนาคาสีแดงขอบดำ” ครูบาอาจารย์บอกว่า “เป็นพลังอนันตจักรวาล” ผู้ที่สามารถที่จะครอบครองได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีบุญวาสนาบารมีที่ได้สร้างสมมาจากอดีตชาติไว้มาก หรือและต้องเป็นผู้ที่มี “จิต” เป็นฤทธิ์เดชตบะมหาอำนาจที่ฝึกฝนมาทางนี้ มิเช่นนั้นไม่สามารถที่จะรองรับพลังอานุภาพของเพชรนาคาที่มีพลังอนันตจักรวาลได้

3. สีเขียว หมายถึง อำนาจจิตที่มีความเมตตาเย็นกายเย็นจิต มีเดช ตบะบารมีของผู้ทรงธรรมที่มีจิตสัมผัสทางโลกลี้ลับเหล่าเทพพรหมเทวดา มีพลังอำนาจลี้ลับไหลเวียนเป็นกระแสล้อมรอบตัว ทำให้จิตมีความสงบเยือกเย็นมั่นคง แคล้วคลาดจากภัยอันตรายต่างๆ

ยิ่งสีเข้มยิ่งมีอานุภาพของพลังที่สื่อผ่านมาจากเพชรนาคาจนเย็นยะเยือก เป็นที่เคารพนอบน้อมเป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดพูดจาอะไร เป็นเหตุที่เกิดมาจากการบำเพ็ญเพียรตบะบารมี “สัจจะอธิษฐาน” ที่ไม่พูดปดมดเท็จหลอกลวงตลบแตลง และเป็นสีของกายทิพย์ผู้เป็นจอมเทพใหญ่ในสวรรค์ชั้นฟ้าทรงช้างเอราวัณ 3 เศียรที่มีอำนาจฤทธานุภาพ จ้าวแห่งสรวงสวรรค์แห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

4. สีเหลือง หมายถึง ความนุ่มนวลมีสง่าราศี สีที่แสดงถึงความมั่งคั่งมีโชคมีลาภไหลมาเทมา มีความเจริญสดใสรุ่งเรืองดัง “ทองคำ” ที่มีคุณค่าในตัวเอง กระแสแห่งสียิ่งสีสดใสเท่าใดยิ่งมีกระแสแห่งโชคลาภ ทรัพย์สินเงินทองเปล่งประกายมากขึ้นเท่านั้น เป็นกระแสที่ทำให้น่าเกรงขาม เคารพศรัทธาในความมีสง่าราศี ดังเจ้าขุนคุณนายเจ้าพระยาผู้มีศักดิ์มีศรี จะได้รับการช่วยเหลืออนุเคราะห์สงเคราะห์ ทำให้หน้าที่กิจการเจริญก้าวหน้าราบรื่น

หมายเหตุ… ผู้ใดได้เพชรนาคาสีเหลืองไว้ครอบครอง จะต้องมีจิตใจที่ชอบทำบุญทำทานเป็นนิจวัตร มีน้อยทำน้อยมีมากเท่ามากตามกำลังของตนเอง และต้องเป็นผู้ที่อยู่ในศีลในธรรม ยิ่งจะส่งผลให้เกิดกระแสแห่งทานบารมีที่บริสุทธิ์ ส่งเสริมพลังเพชรนาคาสีเหลืองและองค์เทพที่รักษาดูแลมีบุญบารมีเพิ่มขึ้น

5. สีส้ม หมายถึงพลังแห่งการป้องกันภัยจากอาวุธภัยอันตรายต่างๆ เป็นพลังที่มีความคิดเด็ดเดียวกล้าหาญกล้าคิดกล้าทำกล้าที่จะเผชิญ และเป็นผู้ที่มีความคิดก้าวหน้ายุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เป็นกระแสพลังที่ป้องกัน และลดสลายอุปสรรคพลังที่ไม่ดีที่เข้ามากระทบ กระทำให้บุคคลใดผู้ใดที่คิดจะมาเบียดเบียนต้องพ่ายแพ้ตนเองไปในที่สุด มีเทพที่มีคุณธรรมดูแลปกปักรักษา และเป็นสีแห่งพระบารมีของ “องค์พระสยามเทวาธิราช” องค์มหาเทพที่ดูแลปกปักรักษาคุ้มครองประเทศชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ จากภัยอันตรายจากศัตรูผู้ไม่เป็นมิตรที่คิดมากระทำย่ำยี

6. สีม่วง หมายถึง พลังที่มีอำนาจลึกลับยากที่จะหยั่งถึงได้ ดังคำว่า “รู้หน้าไม่รู้ใจ” เกี่ยวข้องจิตวิญญาณโอปาติกะ ภูติผีปีศาจทำให้เกิดความเกรงกลัวไม่กล้าที่จะคิดไม่ดีกระทำไม่ดี เหมือนมีพลังลึกลับจ้องมองอยู่ ยิ่งสีที่เข้มจนเกือบดำไม่ต้องพูดถึง มีพลังลึกลับอานุภาพมากขึ้นเป็นทวีคูณ ป้องกันภูติผีปีศาจคุณผีคุณคนคุณไสย การกระทำย่ำยีต่างๆ ให้เสื่อมสลายหายไป และเป็นสีที่สามารถดูดซับพลังอำนาจลึกลับทั้งดีและไม่ดีได้ขึ้นอยู่กับผู้ที่เป็นเจ้าของ

หมายเหตุ… บุคคลที่มีวาสนาครอบครองเพชรนาคาสีม่วงนี้ จะเป็นคนที่มีพลังลึกลับหรือมีสัมผัสพิเศษเรื่องลึกลับ บางคนอาจจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ และเป็นคนที่ช่างคิดช่างตรึกตรองเจ้าวางแผน ถ้ามีมากจนกระทั่งออกไปทางหน้ากลัว อาจจะเกิดผลเสียหรือเกิดพลังที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตนเองและผู้อื่น ควรที่จะฝึกปฏิบัติจิตให้มีความเมตตาหนักแน่น ปล่อยวางจากอารมณ์ที่มากระทบ ให้จิตมีแต่ความโปร่งใสบริสุทธิ์ จะทำให้อานุภาพของเพชรนาคาสีม่วงนี้จะเปล่งประกายออกมาครอบคลุมทั่วร่างตลอดเวลา เสมือนเกราะแก้วคุ้มครอง

6.1.สีม่วงพิเศษ จะมีเฉพาะเม็ดขนาดใหญ่จัมโบ้ รูปวงรีความยาว 3 ซ.ม.ขึ้นไป จะเป็นสีที่มีพลังฤทธิ์อำนาจแห่งความลึกลับแห่งจิตวิญญาณโอปาติกะ ป้องกันอาถรรพ์การกระทำคุณไสยคุณผีคุณคน การกระทำย้ำยีต่างๆ ผูกพยนต์ ฝังรูปฝังรอย ทำให้เกิดการสลายเสื่อมอานุภาพ ศัตรูหมู่มารต่างสยบไม่กล้าที่จะคิดร้ายกระทำไม่ดี มีอานุภาพแผ่พลังครอบคลุมเป็นปริมณฑลได้ทั้งบ้าน แต่ก็ขึ้นอยู่ผู้ที่เป็นเจ้าของครอบครองมีจิตสะอาดอยู่ในศีลในธรรมหรือไม่เป็นหลัก ยิ่งที่เป็นผู้ที่ปฏิบัติทางจิตจะยิ่งเปล่งประกายของอานุภาพรัศมีกว้างขึ้น

7. สีฟ้า หมายถึง ถึงผู้ที่มีบุญวาสนาที่ได้สร้างสมมาในอดีต มีน้ำใจกว้างขวางใสสะอาด น่าเคารพนอบน้อมดังเพื่อนสนิทมิตรสหายสนิทชิดเชื้อกันมานาน พูดจาเจรจาพาทีเข้าทีเข้าท่าติดต่อค้าขายคล่องตัวลื่นไหลสะดวก เป็นผู้ที่มีบุญฤทธิ์ที่เหล่าเทพยดาดูแลค้ำชู เดินทางไปไหนมาจะมีความสะดวกสบาย

8. สีน้ำเงิน หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจวาสนาบารมีสูงมีทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์บารมี เป็นผู้นำผู้ปกครองมีทั้งเดชตบะบารมีเป็นที่เคารพน่าเกรงขามมีขุมทรัพย์มหาศาลที่ซ้อนเร้นอยู่ ดังร่มโพธิ์ร่มไทรที่แผ่กิ่งก้านร่มเย็นที่พักพิงแก่สรรพสัตว์ มีพลังที่ป้องกันศัตรูภัยอันตรายต่างๆทั้งแปดทิศ จะต้องมีเทพพรหมเทวดาดูแลปกปักรักษาตลอดเวลาเสริมสร้างบารมียิ่งขึ้น

หมายเหตุ… ผู้ที่บุญวาสนาได้ครอบครอง จะต้องเป็นผู้ที่บุญวาสนาบารมีมาในอดีตชาติที่สร้างสมมานาน และต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ มิฉะนั้นจะเกิดอาถรรพ์ที่ไม่ดีแก่ผู้ที่ครอบครองเกิดความวิบัติ อย่าหลงอดีตอย่าบ้าอำนาจอย่าอวดเก่งหลงตัวเอง จงทำจิตให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด คือการปล่อยวางจากกิเลสตัณหาอุปทาน

9. สีชมพู หมายถึง สีแห่งพลังอานุภาพเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์มหานิยมนิ่มนวลอ่อนโยน มีความโดดเด่นสะดุดตาดึงดูดสำหรับเพศตรงข้ามและผู้คนรอบข้างผู้ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ผู้คนรอบข้างเกิดความเมตตาช่วยเหลืออย่างน่าอัศจรรย์ใจ ยิ่งสีชมพูเข้มออกสดใสยิ่งมีพลังมหาเสน่ห์ดึงดูดเป็นที่รักใคร่เป็นที่พึงปรารถนาดังนางพญาที่สูงศักดิ์สง่างดงามอย่างน่าประหลาด

หมายเหตุ… ผู้ที่ได้ครอบครองจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจที่ดีงาม ไม่นำพลังไปใช้ในทางไม่ดีดัง”ปากหวานก้นเปรี้ยวเลี้ยวตลบแตลง”ยิ่งกระทำกับเพศตรงข้ามจนกระทั่งผิดศีลในข้อที่ 3 จนเกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ บั้นปลายท้ายสุดแล้วจะอเน็จอนาถน่าสังเวชเป็นอย่างมาก เมื่อผลกรรมนั้นมาตอบสนอง

10.สีชา (สีพิเศษ) หมายถึง สีที่มีพลังอานุภาพสามารถที่จะยับยั่งอารมณ์ความคิดที่ใช้แต่อารมณ์ ทำให้สติปัญญาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่ถูกที่ควรที่ตามไม่ทัน จนกระทำพลาดพลั้งผิดพลาดไปจนเกิดความเสียหาย เหมาะกับผู้ที่ขาดแหล่งพึงพิงทางจิตใจหรือผู้ที่มีจิตใจเลื่อนลอยเสร้าเสียใจผิดหวังท้อแท้ และมีความพิเศษก็คือจะมีอานุภาพทางมีโชคมีลาภอย่างที่คาดไม่ถึง ( เป็นสีที่หาพบได้ยาก )

แต่ตามความเป็นจริงแล้วในการบูชาเพชรนาคา หรือเพชรเจ็ดสีมณีเจ็ดแสงนั้น มิใช่บูชาตามความหมายของสีว่าสีนี้ดีอย่างนี้แบบนั้น หรือสีที่เหมาะกับวันเกิดเดือนเกิดแล้วจะได้ตามนั้น จะต้องขึ้นอยู่กับบุญวาสนาบารมีที่ได้สร้างสมกันตั้งแต่ในอดีตชาติ และเคยได้เป็นเจ้าของกันมาก่อน

ผนวกในปัจจุบันเป็นผู้ที่ดำรงอยู่ในศีลในธรรมเป็นที่ตั้ง มิฉะนั้นแล้วจะเกิดอาถรรพ์เพทภัยไม่ดีกับตนเอง จึงจำจะต้องมีการอธิษฐานจิต ”เสี่ยงบารมี” ตามกำลังบุญวาสนาบารมีของตนเองว่า ”สีใดแบบใด” จะคู่ควรกับบุญวาสนาบารมีของตัวเรา หรือได้คำแนะนำจากครูบาอาจารย์ผู้รู้เท่านั้น.

 

เขี้ยวเพชร เขี้ยวแก้ว
ลักษณะรูปทรงของเพชรพญานาคนั้น รูปทรงที่แปลกๆ มีจำนวนน้อยมาก รูปทรงที่ได้รับวิจารย์มาก คือเพชรพญานาคที่มีรูปทรงลักษณะคล้ายเขี้ยวหรืองา บางท่านเรียกเขี้ยวเพชร บางท่านเรียกเขี้ยวแก้ว บางท่านให้ความเห็นว่า เรียกว่าพระธาตุเขี้ยวแก้วที่ถูกจัดเก็บที่เมืองบาดาล นาคภิภพเท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมามีเรื่องเล่าว่า พญานาคเคยถวายพระสงฆ์ที่วัดแห่งหนึ่งปากทางลงภาคใต้ เรียกว่าพระธาตุเขี้ยวแก้ว อย่างไรก็ตามเพชรพญานาคที่มีรูปทรงเช่นนี้มีน้อย พบเห็นกันน้อยมาก ท่านใดมีโอกาสพบเห็น ก็อย่าปล่อยให้เป็นเพียงตำนาน แต่ขอให้ใช้ดุลพินิจกันให้มาก ตามที่พระพุทธองค์ท่านได้สั่งสอนไว้ ว่าให้เชื่อด้วยปัญญา จะอย่างไรก็ตามทุกชื่อ ทุกเรื่องเป็นเรื่องดีๆทั้งนั้น การพบเห็นของจริงถือว่าเป็นบุญตา การได้เป็นเจ้าของของจริง ถือว่ามีวาสนา แต่หากเป็นของปลอมหรือทำขึ้นมา การได้ฟังได้รู้ ถือเป็นเคราะห์ร้าย และหากเชื่อเรื่องไม่จริง ยิ่งไม่ดีอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เข้าใจผิด คิดเอาว่าของปลอมเป็นของจริง อาจได้รับตำแหน่งผู้งมงายกราบไหว้พกพาแร่หินดินทราย เป็นโง่ที่ไม่อาจแก้ไข
เพชรพญานาค ที่ปรากฏให้เห็นในลักษณะแห่งอัญญมณีเป็นส่วนใหญ่และส่วนน้อยพบเห็นกันน้อยนั้นเป็นที่ประหลาดใจแก่ผู้พบเห็น ได้แก่การพบเพชรพญานาค มีรูปลักษณะอื่นที่ไม่ไช่รูปลักษณ์ของอัญมณี อาทิ รูปทรงเขี้ยว ลูกตา ไข่ หยดน้ำ ดอกบัว ส่วนของหงอน ทรงกลมขนาดโตๆ ฟันกราม หัวใจ รูปทรงที่เป็นส่วนหรืออวัยวะของพญานาค นั้น ย่อมมีฤทธิ์เดชและให้คุณมากกว่าเพชรพญานาครูปทรงอัญมณี ส่วนที่เป็นรูปทรงของอวัยวะนั้น เป็นสิ่งที่เขาตั้งใจทำขึ้นมาด้วยฤทธิ์เดช ว่าเพชรพญานาคและเหล็กใหลพญานาคที่ได้พบเห็นกันในขณะนี้ นั้นเป็นของพญานาคราชและเผ่าพันธุ์ที่มอบให้แก่ผู้ที่มีจิตบริสุทธิ์ช่วยเหลือพระพุทธศาสนาเป็นทาน บารมี ผู้ที่ได้รับเพชรพญานาค และสัณฐานอื่นๆ ควรจะหมั่นทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้แก่นาคและเผ่าพันธุ์ ที่ได้มอบสิ่ง ที่เป็น มงคลแก่เราที่ได้ครอบครอง

วันอาทิตย์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2555

ตำนานอุรังคนิทาน หรือตำนานอุรังคธาตุ

กล่าวถึงความร่วมมือของพระยาทั้ง 5 เมือง ได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคาร เมืองหนองหานหลวง พระยาจุลนีพรหมทัต เมืองแกวสิบสองจุไท พระยาคำแดง เมืองหนองหานน้อย พระยาอินทปัต เมืองเขมร และพระยานันทเสน เมืองศรีโคตรบูรที่มาช่วยกันสร้างองค์พระธาตุพนมแห่งนี้ขึ้นมา แท้ที่จริงแล้วแสดงถึงการเป็นตำนานซึ่งเขียนขึ้นภายหลัง ซึ่งได้กำหนดเอาศาสนสถานใน คติพราหมณ์ - ฮินดูโบราณของวัฒนธรรมจามหรือขอมมาแต่เดิม โดยปรับเปลี่ยนมาเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาเถรวาทด้วยลักษณะของพระธาตุเจดีย์ อันเป็นแบบหรือรูปทรงของพระธาตุพนมในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมแถบลุ่มแม่น้ำโขง จะเห็นได้ว่า ตำนานให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อยกับเมืองหนองหานหลวงเป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วยเมืองแกวสิบสองจุไทในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูรหรือมรุกขนครในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเมืองอินทปัตในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา อันมีการกำหนดให้พระธาตุพนมประดิษฐาน อยู่ ณ ภูกำพร้า ซึ่งถือว่าเป็นศูนย์กลางระหว่างรอยต่อระหว่างวัฒนธรรมและดินแดนต่างๆ ลุ่มแม่น้ำโขงเหล่านั้น ซึ่งผู้เขียนตำนานสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ของท้องถิ่นเข้าไว้ด้วยกันอย่างน่าสนใจ ทำให้เกิดเป็นภาพความสัมพันธ์ของสังคมวัฒนธรรมขนาดใหญ่ครอบคลุมภูมิภาคกว้าง ไกลในบริเวณลุ่มแม่น้ำ จากเรื่องอุรังคธาตุ ประชาชนในอาณาจักรจะมีส่วนร่วมในการสร้างอุรังคธาตุ ซึ่งในช่วงนั้นจะประกอบไปด้วยนครรัฐต่างๆ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางนครรัฐ ซึ่งอยู่ในภาคอีสานเพื่อให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ในสมัยอดีตของเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน นครหนองหารหลวง อยู่บริเวณหนองหารสกลนคร มีพระยาสุวรรณคิงคารเป็นผู้ครองนคร ได้สร้างพระธาตุเชิงชุมสวมรอยพระพุทธบาทและพระมเหสีนามว่าพระณารายณ์เจงเวง ได้สร้างพระกุดนาเวงบรรจุพระอังคารนครหนองหารน้อย ตั้งอยู่ถัดจากหนองหารหลวงไป ได้แก่ หนองหารกุมภวาปีที่พระยาดำแดง เป็นลูกพี่ลูกน้องกับผู้ครองหนองหารหลวง ทั้งสองนครนี้ได้ต้อนรับขบวนนำพระบรมธาตุมาครั้งแรก และได้ร่วมก่อสร้างจนสำเร็จ ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่จนหนองหารทั้งสองลัดถึงกันประชาชนอพยพไปอยู่ที่ เวียงจันทน์ นครศรีโคตรบูรณ์ เป็นแคว้นที่ประดิษฐ์พระอุรังคธาตุ เดิมตั้งอยู่ใต้ปากเซ บั้งไฟซึ่งไหลตกแม่น้ำโขงตรงข้ามพระธาตุพนม ครั้งพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ล่วงลับไปแล้ว พระยานับแสน พระอนุชาขึ้นครองนครแทน ต่อมาเป็นเวลา 13 ปี พระองค์ได้ร่วมสร้างพระอุรังคธาตุครั้งแรก เมื่อทิวงคต แล้วมีการย้ายนครไปตั้งอยู่ทางเหนือพระธาตุชื่อมรุกขนคร นครสาเกตุ หรือ 101 ประตู (สิบเอ็ดประตู) อยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด มีพระยาสุริวงศาครอง ครั้งทิวงคต บ้านเมืองแตกสลายประชากรอพยพไปอยู่ทางจังหวัดหนองคาย มีคำกลอนโบราณบทหนึ่งว่า “เมืองสิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่ขั้นได” ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้มีการก่อสร้างวิหารหลังสูง 6 ชั้น ชั้นที่กลางเมือง คือ กลางบึงพลาญชัย ให้มีบันได ถึง 29 ขั้น มีหน้าต่าง 18 ช่อง มีประตู 11 ช่อง ตำนานผาแดงนางไอ่ ตอนหนึ่งว่า บึงพลาญชัยนี้ มีบั้งไฟขนาดใหญ่ของพระยา ขอมตกลงมากลายเป็นบึงขนาดใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมกราชนั้น มีเมืองขึ้นอยู่สิบเอ็ดเมือง มีทางเข้าสิบเอ็ดประตูด้วย โดยถือเป็นสัญลักษณ์พิเศษแห่งเมืองนี้

ประเพณีหนึ่งที่ชาวลุ่มแม่น้ำโขงถือเป็นภารกิจที่ทุกคนจะต้อง เข้าร่วมพิธีคือ ประเพณีนมัสการองค์พระธาตุพนมในวันเพ็ญเดือนสาม พระธาตุพนมเป็นสิ่งศักดิ์และเป็นของคู่บ้านคู่เมือง เป็นมิ่งขวัญของชาวตะวันออกเฉียงเหนือ และของชาวลุ่มแม่น้ำโขงทุกคน พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม ตามตำนานกล่าวว่าสร้างมานาน ไม่น้อยกว่า 2,300 ปี ในฤดูเทศกาลวันเพ็ญ เดือน 3 ของทุกปี พุทธศาสนิกชนจะหลั่งไหล มาจากทุกสารทิศจำนวนเป็นแสน ๆ คนพากันมาสมโภชและนมัสการพระธาตุพนม งานนมัสการพระธาตุประจำปีถือเอวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3

ความเชื่อถือแต่โบราณ

ในสมัยโบราณ บรรดาชาวพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย และในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีความเชื่อถือสืบต่อกันมาว่า ถ้าใครมีโอกาสได้เดินทางไปไหว้พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ทำบุญทำกุศล ถวายเครื่องสักการบูชา บริจาคทรัพย์สวดมนต์ ท่องบทสาธยายคัมภีร์พระธรรมและเจริญเมตตา ภาวนาเฉพาะหน้าองค์พระธาตุพนมจิตใจจะสงบเยือกเย็นอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ถ้ายังไม่บรรลุพระนิพพานในชาตินี้เมื่อตายแล้ววิญญาณก็จะไปสู่สววรค์ เพราะฉะนั้นด้วยพลังของความเชื่อดังกล่าวนี้ได้ผลักดันให้แต่ละคนให้พยายาม ขวนขวายหาเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เท่าที่สามารถจะทำได้ พวกชาวพุทธในถิ่นนี้ถือกันว่าองค์พระธาตุพนมไม่เพียงแต่จะเป็นเจดีย์ ที่บรรจุพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งยังดำรงพระชนม์อยู่ได้เสด็จมาประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี ซึ่งเรื่องนี้ได้กล่าวไว้ในตำนาน พระธาตุพนม

สถานที่ประสูติของเราตถาคต

สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ

สถานที่แสดงปฐมเทศนา

สถานที่เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ในตำนานอุรังคนิพาน ได้กล่าวถึงการสร้างพระธาตุพนมในยุคแรก (ราว พ.ศ.8) ว่าพระมหากัสสปเถระซึ่งเป็นพุทธสาวกองค์สำคัญพร้อมพระอรหันต์ 500 นำพระอุรังคธาตุจากประเทศอินเดีย แล้วร่วมกับเจ้าพญาทั้ง 5 นคร คือ

พญาสุวรรณภิงคาร ผู้ครองเมืองหนองหานหลวง

พญาคำแดง ผู้ครองเมืองหนองหานน้อย

พญาจุลณีพรหมทัต ผู้ครองแคว้น 12 จุไทย

พญาอินทปฐนคร ผู้ครองแคว้น เขมรโบราณ

พญานันทเสน ผู้ครองอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ (โคตบูร)

พระมหากัสสปเถระได้ พญาทั้ง 5 นคร ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมที่ ดอยกปณคีรี หรือภูกำพร้า อยู่ในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ เมื่อสร้างพระธาตุพนมเสร็จ พระมหากัสสปเถระ พระอรหันต์ แล้วเจ้าพญาเสด็จกลับไปแล้ว พระอินทร์และเหล่าเทพยดาทั้งปวงก็เสด็จมาฉลองพระธาตุ เป็นการใหญ่ นับเป็นงานพระธาตุครั้งแรก

พ.ศ.200 ในยุคของพญาสุมิตตธรรมวงศา ผู้ครองเมืองมรุกนคร และอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ องค์ต่อมาได้ร่วมกับพระอรหันต์ทั้ง 5 คือ พระมหารัตนเถระ พระรัตนะเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ พระจุลสุวรรณปราสาทเถระและพระสังขวิชาเถระ ได้ร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุพนม ให้สูงขึ้นราว 24 เมตร หลังจากบูรณะปฏิสังขรณ์อย่างมโหฬาร และพระองค์ ได้ถวายทรัพย์สินมีค่ามากมายบูชาพระธาตุ แล้วยังได้มอบหมายให้หมู่บ้านทั้ง 8 แห่ง ในเขตแดนนั้น ซึ่งมีจำนวนมากถึง 3,000 คน เป็นผู้ดูแล รักษาพระธาตุโดยไมต้องเสียส่วยสาอากรซึ่งเรียกว่า “ข้าโอกาสพระธาตุพนม” จากนั้นมา ก็เข้าใจว่าคงจะมีงานพระธาตุเรื่อยมา

พ.ศ. 2233 – 2263 เจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก พระเถระชาวเวียงจันทน์ ได้นำครอบครัวชาวเวียงจันทน์ ประมาณ 3,000 ครอบครัว ล่องเรือมาตามแม่น้ำโขง และท่านได้เป็นผู้นำในการบูรณะองค์พระธาตุพนมครั้งใหญ่ โดยเสริมยอดพระธาตถพนมให้สูงขึ้นเป็น 47 เมตร ใช้เวลาในการบูรณะ ตั้งแต่ พ.ศ. 2236 – 2245 รวม 9 ปี เมื่อบูรณะเสร็จแล้วท่านได้นำครอบครัวเหล่านั้นไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ จนกระทั้งมรณภาพ

ในปี พ.ศ. 2263 รวมอายุ 90 ปี ในหนังสือประวัติเจ้าราชครูหลวงโพนสเม็ก ซึ่งเรียบเรียงโดย พระมหาแก้ว ถนโตภาโส เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2482 หน้าที่ 25 มีข้อความตอนหนึ่งว่า “อย่าน้อยท่านคงไปมาระหว่างจำปาศักดิ์กับธาตุพนม ปีละครั้งในงานนมัสการเป็นกิจวัตร” แสดงให้เห็นว่างานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีมีขึ้นก่อน ยุคนั้นมาแล้ว

พ.ศ. 2444 ท่านพระครูอุดรพิทักษ์ฯ (บุญรอด สมจิตร) ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตนมล ครองเมืองอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2446 ท่านได้เดินทางมาพร้อมคณะ โดยทางเกวียนถึงวัดพระธาตุพนม และเริ่มลงมือบูรณะพระธาตุพนม เมื่อวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนอ้าย ปี พ.ศ. 2444 ท่านพระครูใช้เวลาบูรณะองค์พระธาตุพนมประมาณ 2 เดือน จึงสำเร็จบริบูรณ์ ได้ทำการฉลอง ณ วันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันเพ็ญปีนั้นซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ในหนังสืออุรังคนิทาน ซึ่งเรียบเรียงโดยพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม หน้า 148 กล่าวว่า

ในงานฉลอง สมโภชมาฆบูชาครั้งนั้น เล่ากันว่า มีประชาชนและพระภิกษุสามเณรจากหัวเมืองต่างๆ ร่วมประชุมหลายหมื่น จนที่พักพาอาศัยแออัดยัดเยียด เป็นมโหฬารยิ่งงานหนึ่งในสมัยนั้น แต่เป็นที่น่าสลดใจอยู่บ้าง ในงานนั้นการรักษาความสะอาดไม่เพียงพอ จึงเกิดอหิวาตกโรค ขึ้นแทรกซ้อนในบั้นปลายของงานจึงทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปบ้าง แต่ก็พากันรีบกลับบ้านเมืองของตน

*******************************

  • พญานาค เป็นสัตว์มหัศจรรย์ ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ และมีชีวิตใกล้กับคน พญานาค สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะบนบก และนาคชื่อ ชลซะ แปลว่า เกิดจากน้ำ จะเนรมิตกายได้เฉพาะในน้ำเท่านั้น
  • พญานาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 อย่างนี้ จะต้องปรากฎเป็นงูใหญ่เช่นเดิม คือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค ขณะนอนหลับ โดยไม่มีสติ และที่สำคัญ ตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
  • .พญานาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวกงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ มีพิษได้ ซึ่งก็ด้วยเหตุที่ นาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน
  • พญานาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล คนโบราณเชื่อว่าเมื่อบนสวรรค์มีเทพเทวาอาศัยอยู่ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อน ๆ กัน ชั้นสูง ๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์
  • พญานาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาลพื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขั้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ

              จะเห็นว่า พญานาค หรือ งูใหญ่ นั้นมีความเป็นมาและถิ่นที่อยู่เป็นสัดส่วนในภพหนึ่งต่างหาก จะมีเป็นบางครั้งที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ พญานาค เป็นทั้งเอกลักษณ์ของความดี และความไม่ดี

กิเลสพญานาค

 

"พญานาคจะมีเรื่องทะเลาะกันก็เพราะเรื่องกามนี้เป็นหลัก คดี ที่เกิดขึ้นมักจะเป็น เรื่องเหล่านี้ ผู้ปกครองต้องตัดสินเกี่ยวกับ เรื่องผัวๆ เมียๆ ตลอดเวลา"

แท้จริงแล้วพญานาคก็คืออดีตมนุษย์ จึงต่างต้องวนเวียนตกเป็นทาสของกิเลสมาร อยู่ในทั้งสามเรื่องนี้เช่นเดียวกับมนุษย์ คือ เรื่องกิน กาม และเกียรติ

เรื่องอาหารการกินของพญานาคใน กำเนิดโอปปาติกะ เกิดขึ้นจากบุญซึ่งตนเอง ทำไว้ในสมัยเป็นมนุษย์ ส่วนบริวารคือพวก ที่เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในน้ำสกปรก ใน เหงื่อไคล ก็จะอาศัยอาหารการกินที่เกิด จากบุญของเจ้านายรวมกับบุญของตน รวมถึงการบริโภคสมบัติ ซึ่งแต่ละชิ้น ก็เกิดด้วยบุญ ใครจะแย่งชิงกัน หรือลักขโมย กันไม่ได้ เพราะบุญของผู้นั้นคุ้มครองสมบัติ ของตนเอาไว้ ปกครองกันแบบบุญญาธิปไตย

ในเรื่องของเกียรติหรือศักดิ์ศรีก็แย่งกัน ไม่ได้เช่นเดียวกัน มีการแบ่งพื้นที่เขตแดนใน การดูแลตามกำลังบุญของตน หรือตามแต่ เจ้าเมืองนั้นจะมอบหมายให้ตามกำลังบุญ ไม่ มีการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงพื้นที่กัน ยกเว้น พวกกำเนิดต่ำกว่า คือกำเนิดแบบอัณฑชะและชลาพุชะ บางครั้งจะมีการแย่งชิงพื้นที่หรือ หากินข้ามเขตกันบ้างเป็นครั้งคราว

เรื่องยศถาบรรดาศักดิ์ ก็แบ่งกันตาม กำลังบุญ และตามกำเนิดสูงต่ำ จึงไม่มีการ ทะเลาะกันเรื่องตำแหน่งและเกียรติยศ ไม่ เหมือนมนุษย์ซึ่งยังแย่งชิงกัน ทั้งตำแหน่ง หน้าที่และการงาน

ส่วนเรื่องกามนั้น พญานาคจะมีเรื่อง ทะเลาะกันก็เพราะเรื่องกามนี้ เป็นหลัก คดีที่เกิดขึ้นมักจะ เป็นเรื่องเหล่านี้ ผู้ปกครองต้อง ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องผัวๆ เมียๆ ตลอดเวลา ดังเช่นคดีตัวอย่าง อีกคดีหนึ่ง เกิดขึ้นที่เมืองของ เจ้าแม่สองนาง

เรื่องมีอยู่ว่า บริวารของ เจ้าแม่สองนาง ล้วนแต่เป็นหญิง ส่วนหนึ่งจะมีวิบากกรรมเรื่อง ไร้คู่ครอง อีกส่วนหนึ่งสามารถมีคู่ครองได้ แต่ เมื่อมีคู่ครองแล้วต้องย้ายไปอยู่กับคู่ครอง ซึ่ง อยู่อีกเมืองหนึ่ง ปล่อยให้อยู่ในเมืองเดียวกัน ไม่ได้ เพราะเมืองของเจ้าแม่สองนางนั้น มีแต่ ผู้หญิงล้วน ถ้ามีผู้ชายเข้ามาอยู่ ก็อาจจะเกิด ปัญหาเรื่องชู้สาวขึ้นมาได้ง่าย

ครั้งหนึ่งบริวารหนุ่มของสุวรรณมธุรนาคราชตนหนึ่ง มีนิสัยเจ้าชู้ นาคหนุ่มนั้นรู้ ดีว่าเมืองเจ้าแม่สองนาง เต็มไปด้วยนางนาค มาณวิกา สวยๆ สาวๆ แรกรุ่นดรุณีทั้งนั้น จึงหาเวลาว่างตอนออกจากเวรหน้าที่ของตน ออกไปว่ายน้ำนอกเมือง คอยหาโอกาสจีบ นางนาคของเมืองเจ้าแม่สองนาง ขณะที่เธอ ออกมาว่ายน้ำเล่น

มีนางนาคตนหนึ่งออกมาว่ายน้ำเล่น ตามลำพัง ด้วยความคึกคะนองของนาคหนุ่ม ก็โผเข้าใส่ทันที เอาหางเกี่ยวกระหวัดรัดร่าง นาคสาว กระตุกเบาๆ เป็นเชิงทักทาย นาง นาคน้อยสะดุ้ง สั่นสะท้านไปทั้งตัว เมื่อถูก ลวนลามเธอตกใจร้องลั่น

"จะทำอะไรน่ะ ปล่อยนะ อย่านะ อย่า ปล่อยเดี๋ยวนี้นะ" ร้องไปดิ้นไป สะบัดตัวไปมา จนน้ำกระจาย เจ้านาคหนุ่มหัวเราะอย่างสบ อารมณ์ ในความไม่ประสีประสาของนาคสาว

"โอ้ สาวน้อย แสนงาม อย่าดิ้นเลย ไม่ ได้ทำให้เจ็บสักหน่อย หยอกเล่นนิดเดียวน่านะ อย่าโกรธนะ รักกันนะ พี่รักเธอตั้งแต่แรกเห็น นะ" นาคหนุ่มค่อยๆ คลายรัดนาคสาว ยิ้ม อย่างประจบเอาใจ

"สวยจัง น่ารักจัง ตัวนุ้มนุ่ม หอมด้วย" พูดพลางเบียดกระแซะเข้ามาหานาคสาว ผู้อ่อนต่อโลก

"ไปว่ายน้ำเล่นทางโน้นดีกว่า" นาคสาว ว่ายน้ำตามไปอย่างเคลิบเคลิ้ม ในทีท่าและคารมของนาคหนุ่มรูปงาม เธอปักใจเชื่อว่า นาคหนุ่มนี้รักตนจริงๆ

เมื่อถึงถ้ำใต้น้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งอยู่ในที่ ลับหูลับตา นาคหนุ่มก็ใช้ความเจนจัดชั้นเชิง เจ้าชู้กับสาวนาค จนเธอไม่สามารถควบคุม อารมณ์และความต้องการของธรรมชาติใน ตัวตนได้

สัมพันธ์สวาทอันลึกซึ้งที่เธอได้รับคือ ความประทับใจครั้งแรกในชีวิต แต่สำหรับ นาคหนุ่ม มันคือประสบการณ์ของลูกผู้ชาย นาค ไม่ใช่ความรัก แต่เป็นความสำเร็จ และความภาคภูมิใจในชั้นเชิงเจ้าชู้ของเขา ที่ สามารถทำให้นาคสาวตกลงปลงใจได้โดย ง่ายดาย

หลังจากประสบความสำเร็จไปหนึ่งราย แล้วก็ติดใจ นาคหนุ่มจอมเจ้าชู้จึงมาเลียบๆ เคียงๆ เพื่อหาเหยื่อสาวนาคมาณวิการาย ใหม่ต่อไป

จนกระทั่งวันหนึ่ง ก็ได้มาพบกับนาค มาณวิกาสาวรายใหม่ ที่ออกมาว่ายน้ำเล่นนอก เมืองตามลำพัง เธอช่างสวยงามเป็นพิเศษ นาคหนุ่มเห็นแล้ว ไม่รีรอเลย ตรงเข้าไปจีบ โดยใช้วิธีการเดิม คำพูดเดิมๆ ที่เคยใช้ได้ผล มาแล้ว ครั้งนี้ก็เช่นกัน สำเร็จโดยไม่ยากเลย

นาคหนุ่มยิ่งหมกมุ่นมัวเมาในสัมผัสอัน ละมุนของนางนาคสาวยิ่งขึ้นไปอีก แอบมา เมียงมอง เพื่อหาเหยื่อรายอื่นๆ ต่อไป พอ ถึงรายที่สาม วิธีเดิมไม่ได้ผลเสียแล้ว ต้อง ใช้วิธีใหม่ โดยแผ่พังพานใหญ่ แสดงลีลา ให้ดูสง่างาม เข้มแข็ง พร้อมที่จะปกป้องเธอ ทุกเวลา

นาคหนุ่มมาดักเจอนาคสาวทุกครั้ง ไม่ซ้ำรายกันเลย เพราะรู้กำหนดเวลาในการ เข้าเวรและออกเวรที่ไม่ตรงกันของนาคสาว ในเมืองเจ้าแม่สองนาง ส่วนตัวนาคหนุ่มที่มา ได้ตามเวลานัดหมายกับสาวนาคไว้ เพราะ อาศัยแลกเวรกับเพื่อนนาคหนุ่มด้วยกัน

ในสังคมของนาคสาวมาณวิกานั้น เมื่อ อยู่รวมกันก็เหมือนมนุษย์อย่างนี้ แหละ จะคุยกันด้วยเรื่องสัพเพเหระ คุยไปคุยมา ก็วกมาคุยถึงนาคหนุ่ม อีกเมืองหนึ่ง ว่าได้ไปเจอหนุ่มนาค เมืองนั้นนะ รูปหล่อ พูดเพราะ พูด ว่ายังงั้น พูดว่ายังงี้นะ คุยไปคุยมา เอ๊ะ ทำไมถึงพูดเหมือนกัน คำเดียว กัน ประโยคเดียวกัน ลีลาแบบเดียว กัน เอ๊ะ มันยังไงกันนี่ ยังกับตัวตนเดียวกันยังไงยังงั้นเลย น่าสงสัย ก็ได้แต่สงสัยเท่านั้นไม่มี โอกาสพิสูจน์

วันหนึ่งมีการปรับเวรในการ รับหน้าที่ นาคสาวมาณวิกาสองนาง ที่เคยมีความสัมพันธ์กับนาคหนุ่ม เจ้าชู้ในช่วงต่างเวลากัน จึงได้มี โอกาสมาพักพร้อมกับนาคสาวอีก ตนหนึ่ง นาคสาวตนแรกนัดเวลาเจอ กับนาคหนุ่มอยู่ก่อนแล้ว ก็มาตามวันเวลาที่ นัดหมาย โดยไม่รู้ว่าอีกนางนาคหนึ่งก็ปรับ เวลาเปลี่ยนเวรมาหยุดในวันเดียวกันพอดี

ด้วยอำนาจความรักและความคิดถึง นาคหนุ่มนั้น เธอจึงคิดว่าน่าจะออกไปเที่ยว นอกเมืองดู เผื่อว่าจะเจอสุดที่รักของตนบ้าง เมื่อออกไปนอกเมืองบาดาล ก็บังเอิญเจอ จริงๆ เจอนาคหนุ่มสุดที่รัก แต่ว่าตอนนี้ นาคหนุ่มสุดที่รักกำลังพลอดรักกับเพื่อน นาคสาวของเธอเองอยู่ในถ้ำใต้น้ำ ซึ่งเป็นที่ พลอดรักประจำของตน ภาพบาดตาบาดใจอย่างนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่การทรยศหักหลัง เสียแรงที่มาด้วยความคิดถึง ถ้างั้นก็เสียแรงเพิ่มขึ้นอีกหน่อย ลุยให้สมแค้น หายคิดถึงไปเลย

นาคมาณวิกาสาว พุ่งตัวเข้าชนร่างสองร่าง ที่กำลังรัดกันกลมเป็นเกลียว แรงฤทธิ์หึงนี่มันสุดๆ จริงๆ ร่างสองร่างหลุดกระเด็นออกจากกัน ยังไม่ทันตั้งตัว ก็โดน กัดซ้ำจมเขี้ยว นาคหนุ่มตกตะลึงจนทำอะไรไม่ถูก สุดที่รักเก่ารายที่หนึ่ง กับสุดที่รักใหม่รายที่สอง กัดกันเป็นพัลวัน นาคสาวที่อยู่ ในบริเวณนั้นได้ยินเสียงก็เข้ามาห้าม จากหนึ่งเป็นสอง เป็นสาม มาเป็นหมู่เลย มาช่วยกันห้าม แต่ห้ามไม่ไหว

ในที่สุดหัวหน้าบริวารต้องเข้ามาห้ามเอง ควบคุมตัวนาคสาวทั้งสอง พร้อมด้วยนาคหนุ่มตัวต้นเหตุไปสอบสวน จึงได้รู้ว่า สาเหตุมาจากความหึงหวง นาคหนุ่มเจ้าชู้เที่ยวหลอกเขาไปทั่ว บรรดานาคสาวมาณวิกาตัวอื่นๆ ที่เคยถูกหลอก และมีสัมพันธ์กับนาค หนุ่มนี้จำได้ จึงรุมด่าว่าต่างๆ นานา

เจ้าแม่สองนาง จึงตัดสินบริวารของตนว่า ให้นางนาคทั้งสองตัวที่ทำร้ายกัน โดนกักบริเวณ โดยตนหนึ่งให้ไปจำศีลอยู่ที่ถ้ำใต้น้ำ ส่วนอีกตนหนึ่งให้ไปจำศีลอยู่ที่โพรงดินใกล้ตลิ่งริมแม่น้ำโขง

ส่วนนาคหนุ่ม เจ้าแม่สองนางไม่สามารถตัดสินได้ เพราะอยู่ต่างเมือง จึงควบคุมตัว ไปส่งให้กับสุวรรณมธุรนาคราชตัดสิน

สุวรรณมธุรนาคราช สืบสวนแล้ว เห็น ว่านาคหนุ่มนั้นทำความผิดร้ายแรง เนื่อง จากตั้งใจทำผิดศีลข้อ ๓ หลายครั้ง พร้อม ทั้งพิจารณาเห็นว่า บุญในตัวของนาคหนุ่ม หมดแล้ว เพราะหน้าตาผิวพรรณหมองคล้ำ ซึ่งเป็นอาการของการหมดบุญ

จึงตัดสินให้ส่งตัวไปยมโลก โดยแจ้ง ไปที่หัวหน้าเขตที่เป็นกุมภัณฑ์ หัวหน้าเขต จึงแจ้งไปที่เจ้าหน้าที่ที่เป็นพญานาค ซึ่งช่วย ราชการพิเศษ เป็นกำลังเสริมในยมโลก มา รับตัวนาคหนุ่ม ไปลงโทษในยมโลกต่อไป โดยให้ไปปีนต้นงิ้ว ถูกอีกาปากเหล็กจิก ถูกสุนัขปากเหล็กกัด จนกระทั่งตายแล้วฟื้น ฟื้นแล้วกลับตายอีก ทนทรมานเช่นนี้ นานเป็นล้านๆ ปี นับตามเวลาในโลกมนุษย์

วันอัญเชิญสมบัติ

DSCN0022DSCN0023DSCN0024DSCN0025DSCN0026DSCN0027DSCN0028DSCN0029DSCN0030DSCN0031DSCN0034DSCN0035DSCN0036DSCN0041DSCN0042DSCN0043